วันอาทิตย์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เรื่องของ "หนี้" (สหกรณ์)

     คิดอยู่นานมากๆ ว่าจะเขียนบทความเรื่องนี้ดีมั้ย?? เพราะว่าเรื่องที่จะเขียน มันอาจจะกระทบหลายๆคนที่มีปัญหาเรื่องนี้กันถ้วนหน้า แต่เพราะจุดประสงค์และความตั้งใจของผมตั้งแต่เริ่มต้นของการเขียนบทความคือ "เพื่อแชร์ความรู้ ประสบการณ์ สไตล์นักลงทุนมือใหม่ ทั้งในด้านการลงทุนและการใช้ชีวิตส่วนตัว เป็นบันไดเพื่อก้าวไปสู่อิสรภาพทางการเงิน" ดังนั้นความรู้ทางการเงินเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่มีสอนในโรงเรียน ผมจึงอยากจะเอามาแชร์ให้ทุกท่านได้อ่านและนำกลับไปคิดทบทวนกันเองนะครับ..

     ที่จะเล่าให้ฟังในวันนี้เป็นเรื่องของ "หนี้ สหกรณ์ออมทรัพย์" ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายกลุ่มแยกประเภทตามอาชีพ เช่น สหกรณ์ครู ทหาร ตำรวจ สาธารณสุข พนักงานรัฐวิสาหกิจ สถาบันอุดมศึกษา ส่วนราชการ/ส่วนท้องถิ่น เอกชนและอื่นๆ ซึ่งข้อมูลจากนิตยสารการเงินการธนาคาร แสดงสัดส่วนการกู้ยืมของทุกกลุ่มสาขาอาชีพ สรุปได้ตามรูปต่อไปนี้

ที่มา: www.facebook.com/moneyandbanking
     เป็นที่น่าตกใจว่า สัดส่วนที่มากที่สุดของการกู้ยืมเงินสหกรณ์ คือ "กู้หนี้ไปใช้หนี้" รองลงมาคือ ใช้สอยส่วนตัว ซื้อสร้างปรับปรุงสิ่งปลูกสร้าง ซื้อเครื่องใช้ในครัวเรือน ตามลำดับ ก่อนที่ผมจะเห็นข้อมูลนี้ ก็เข้าใจว่า คนที่กู้เงินสหกรณ์ส่วนใหญ่จะกู้ไปทำธุรกิจ หรือ กู้ไปซื้อที่อยู่อาศัย แต่เมื่อเห็นสัดส่วนแล้ว ผมก็ชักไม่แน่ใจซะแล้ว..
     ทีนี้มาแยกดูแต่ละสาขาอาชีพกันบ้าง ผมจะขอยกตัวอย่างมาซัก 3 กลุ่มให้เห็นภาพกันคร่าวๆดังนี้ครับ




     ตัวเลขดังกล่าวเป็นหนี้สินเฉลี่ยต่อคน ที่นำโด่งมาเลยก็หนีไม่พ้น "คุณครู" ของเรานี่เองครับ หนี้เฉลี่ยต่อคนสูงถึง 864,860 บาท อย่าลืมว่า นี่เป็นเพียงตัวเลขหนี้สหกรณ์ เท่านั้น ยังไม่รวมไปถึงหนี้สถาบันการเงินอื่นๆอีก ซึ่งผมก็เข้าใจว่า แต่ละคน ก็คงมีภาระแตกต่างกันไป คงไม่กล้าแสดงความคิดเห็นอะไรมาก แค่ต้องการจะฝากให้ทุกท่านช่วยกันคิดวิเคราะห์และก็ตรวจสอบตัวเองดูละกันครับว่า ถึงเวลาที่เราจะหยุดก่อหนี้เพิ่ม แล้วหันมาใส่ใจสุขภาพทางการเงินในครอบครัวของเราแล้วหรือยัง ??

         >> ติดตามบทความอื่นๆ คลิ๊ก ที่นี่!! <<

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น