วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2559

LTF & RMF ขุมทรัพย์สำหรับผู้เสียภาษี

 
     ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่(ที่รู้จักมักคุ้นกันกับผม) ไม่เคยรู้จัก กองทุนฝาแฝด ที่ ชื่อว่า LTF และ RMF หรือหลายคนอาจจะเคยได้ยิน แต่ไม่คิดที่จะใช้ประโยชน์จากมันเท่าไหร่หรอก ฉะนั้นบทความนี้ผมจะเขียนเก็บไว้เผื่อว่าวันนึงจะมีซักคนที่เอามันไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามสิทธิ์ที่เราควรได้รับ แล้วไอ้เจ้า LTF&RMF มันคืออะไร มาเริ่มทำความรู้จักกันเลยครับ...

LTF คืออะไร ?
     LTF ย่อมาจาก Long Term Equity Fund เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่ง ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการลงทุนในตลาดหุ้นระยะยาว โดยผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด 

       ผลตอบแทนนักลงทุนจะได้รับ คือ
1.เงินลงทุนสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ (กำไรแน่ๆ ส่วนคำอธิบายพร้อมภาพประกอบด้านล่าง)
2.กำไรจากมูลค่าส่วนต่าง (เช่น ซื้อหน่วยลงทุน 10 บาท/หน่วย เมื่อครบ 7ปีปฏิทิน ขายที่ 15 บาท/หน่วย กำไร 50%)
3.กำไรจากเงินปันผล (กรณีเลือกกองที่มีนโยบายจ่ายปันผล)

           เงื่อนไขของ LTF
1.ลงทุนได้สูงสุด 15% ของเงินได้ที่ต้องนำมาคำนวณภาษี
2.ซื้อปีไหน ใช้ลดหย่อนภาษีปีนั้น ไม่ต้องลงทุนต่อเนื่อง
3.ต้องถือลงทุนอย่างน้อย 7 ปี นับปีปฏิทิน (สามารถถือนานกว่านั้นได้)

RMF คืออะไร ?
     RMF ย่อมาจาก Retirement Mutual Fund เป็นกองทุนรวมเพื่อการเกษียณอายุประเภทหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งในการออมเงินไว้ใช้ในวัยเกษียณ ที่ทางการให้การสนับสนุน สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ลงทุนเพื่อเป็นแรงจูงใจ

          เงื่อนไขของ RMF
1.ลงทุนได้สูงสุด 15% ของเงินได้ที่ต้องนำมาคำนวณภาษี เมื่อรวมกับเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กบข. และเบี้ยประกันแบบบำนาญ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
2.ต้องลงทุนต่อเนื่อง โดยขั้นต่ำ 3%ของรายได้ หรือ 5,000 บาท และสามารถเว้นการลงทุนได้ปีเว้นปี
3.สามารถขายได้เมื่ออายุครบ 55ปีบริบูรณ์ และต้องลงทุนอย่างน้อย 5 ปี

พอรู้จัก LTF&RMF กันพอสมควรแล้วนะครับ ทีนี้มาถึงการคำนวณฐานภาษีเพื่อที่จะรู้ว่าเราจะต้องซื้อกองทุนกันเท่าไหร่ดี และวิธีคัดเลือกกองทุน ในที่นี้ผมขอยกตัวอย่าง การคัดเลือก LTF นะครับ...

คำนวณการซื้อ LTF&RMF (ที่มา : http://www.kasikornasset.com/Pages/CalTax.html )

ขั้นตอนที่ 1 : กรอกรายได้ 
ผมสมมุติให้ นายแหล่ มีเงินเดือน 35,000 บาท โบนัส ดอกเบี้ย เงินปันผล รายได้อื่นๆ ไม่มี

ขั้นตอนที่ 2 : กรอกรายการลดหย่อนและบริจาค 
มีค่าใช้จ่ายในการลดหย่อน เป็น ค่าเบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาท และ ค่าดอกเบี้ยเงินกู้บ้าน 10,000 บาท
ขั้นตอนที่ 3 : สรุปผล 


   =>> กรณีนี้ นายแหล่ ลงทุน LTF ไป 40,000 บาท และ RMF ไป 40,000 บาท ฉะนั้น ภาษีที่ประหยัดได้ 4,000 บาท (ได้แน่ๆยังจะไม่เอาอีกหรือ??)  คลิก คำนวณภาษีได้ ที่นี่เลยจ้า!!

วิธีการคัดเลือก LTF

ที่มา : www.siamchart.com
     ผมใช้วิธีคัดกรองโดยดูผลตอบแทนย้อนหลัง จาก เลือกกองทุน LTF คลิกที่นี่!!  (ไม่เฉพาะ LTF นะครับ กองทุนประเภทอื่นก็มีเหมือนกัน) ในที่นี้จะมีทั้งสิ้น 10 กองทุนที่มีผลตอบแทนย้อนหลังดีที่สุด

....เริ่มเห็นภาพมากขึ้นยังครับ??  (เห็น เ-ี้ย อะไรล่ะ กูยิ่งงงกว่าเดิม 555)....
     
    ไม่ใช่ว่าเราจะดูแค่ผลตอบแทนย้อนหลังของกองที่ดีที่สุดแล้วซื้อเลย ยังมีองค์ประกอบที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติม เช่น ความสะดวกในการซื้อกองทุนนั้นๆ ค่าธรรมเนียม ขนาดกองทุน สไตล์การลงทุน การกระจายการลงทุน นโยบายเงินปันผล ฯลฯ  
     ซึ่งข้อมูลต่างๆเหล่านี้ท่านสามารถดาวน์โหลด จาก www.wealthmagik.com แล้วนำ Fund Factsheet ของแต่ละกองทุนมาเปรียบเทียบตามตัวอย่างข้างบน หลังจากนี้ก็ขึ้นอยู่กับทุกท่านแล้วล่ะครับ ว่าจะเลือกกองทุนไหนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของแผนการความมั่งคั่งของเรา สำหรับผมคงชี้เป้าให้ทุกท่านไม่ได้ เดี๋ยวเกิดผลตอบแทนไม่เป็นไปตามคาดขึ้นมาผมคงเป็นหมาหัวเน่าแน่ๆ 555555

"ขอความมั่งคั่ง จงสถิตย์แก่ทุกท่านที่มุ่งมั่นครับ"

                                                                                              
       >> ติดตามบทความอื่นๆ คลิ๊กที่นี่!! <<