วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2559

แชร์วิธีการทำงบการเงินส่วนบุคคล


     ปัญหาใหญ่ที่มนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆท่านๆ รวมทั้งผม(ในอดีต) พบเจอ คือ เงินเดือนไม่พอใช้ หมุนเงินไม่ทัน ใช้จ่ายเกินตัว พอเงินไม่พอใช้ ก็ต้องหยิบยืม กู้บ้าง ทั้งในระบบ นอกระบบ ปัญหามันเกิดจากการไม่ควบคุมค่าใช้จ่าย ไม่มีการวางแผน ไม่รู้ว่าสถานะทางการเงินของเราอยู่ ณ จุดไหน ฉะนั้น ใครที่มีปัญหาในเรื่องนี้ ตามผมมาครับ...เดี๋ยวผมจะเล่าให้ฟัง จะทำตามหรือไม่ ก็สุดแล้วแต่นะครับ...

     เหตุเกิดจาก สมัยผมเริ่มทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนใหม่ๆ ด้วยเงินเดือนอันน้อยนิดของวิศวกรโรงงานโสดๆคนนึง ที่เฝ้ารอแต่เงินเดือนตอนสิ้นเดือน ใช้จ่ายแบบไม่คิดอะไร ภาระไม่มี หนี้สินก็ยังไม่มี เป้าหมายห่าเหวอะไรก็ยังไม่มี พอเริ่มทำงานมาซักพัก ก็เหมือนคนทั่วไป เริ่มมีรถยนต์ ภาระหนี้สินเริ่มมา และก็เป็นหนี้ที่หนักซะด้วย สุดท้ายก็เข้าคอนเซ็ป "เงินเดือนอยู่กับเราถึงวันที่5 แต่มาม่าอยู่กับเราทั้งเดือน" ซักพักก็อยากมีเมีย ทีนี้ล่ะครับ ถึงเริ่มจะคิดได้นิดๆ

     ข้ามไปตอนที่หลังจากแต่งงานใหม่ๆ ปัญหาครอบครัวเริ่มมาเยือน ด้วยความที่เงินเดือนผมก็น้อยนิดอยู่แล้ว ไหนจะมีหนี้สินติดตัวมาอีก ส่วนภรรยาผม เงินเดือนมากกว่าผมพอสมควร หนี้สินก็ไม่มี ใช้จ่ายก็ประหยัด มีเงินเก็บ เลี้ยงดูครอบครัวเป็นอย่างดี พอเริ่มใช้ชีวิตร่วมกันตามประสาข้าวใหม่ปลามัน ก็ใช้เงินกันแบบไม่คิดชีวิต ไม่คิดถึงอนาคต เงินมีเท่าไหร่ใช้แม่มหมด พอหมด ก็เริ่มรบกวนเงินเก็บเมีย หนักเข้าก็เริ่มทะเลาะกันเรื่องเงิน นั่นล่ะครับ ทำให้ผมกลับมานั่งคิดถึงเรื่องการวางแผนการเงิน...

เล่าถึงงบการเงินส่วนบุคคล ผมศึกษาจาก youtube ของ พี่เอ a-academy ชื่อซีรี่ย์ "งบการเงินส่วนบุคคล (Personal Financial Statement)
เนื้อหาตามลิงค์นี้เลยครับ  https://www.youtube.com/watch v=O2a7dQ1FNEg&list=PLzNZumObc8XveFYaKWz8c2UyZOP4gQVt3 ขออนุญาติพี่เออีกครั้งนะครับ

สรุปเนื้อหา งบการเงินส่วนบุคคล แบ่งเป็น 3 งบ หลักๆ ได้ดังนี้..

1. งบรายรับ-รายจ่าย  =>> ผมใช้วิธีจดบันทึกรายรับรายจ่ายลงในกระดาษทุกๆวัน พอครบเดือน ก็จะนำมากรอกลงในตาราง excel เพียงแค่นี้ก็จะเห็นการใช้จ่ายของเราแล้วว่าสยองขนาดไหน 555



2. งบกระแสเงินสด =>> ใช้สำหรับวางแผนการใช้จ่ายรายเดือน อย่างน้อยล่วงหน้า 1 ปี สามารถปรับแผนได้ตลอดเวลา ตามการใช้จ่ายจริงจากการทำงบรายรับ-รายจ่าย ของเดือนก่อน เพื่อใช้วางแผนในเดือนต่อๆไป


3. งบดุล =>> หรือ งบแสดงสถานะทางการเงิน งบนี้จะแสดงทรัพย์สิน หนี้สิน ของเรา ว่าเราสมควรที่จะก่อหนี้เพิ่ม หรือควรสะสมทรัพย์สินเพิ่ม ครั้งแรกที่ผมทำงบนี้ เมื่อต้นปีที่แล้ว ผมถึงกับอุทานดังๆในใจว่า "ชิบหายแล้วกู หนี้กูแม่งเยอะกว่าทรัพย์สินกูขนาดนี้เลยหรอวะ" เมื่อเวลาผ่านไป ด้วยวินัยที่ดีขึ้น งบดุลของเราก็เริ่มดูดีขึ้น มีกำลังใจในการสร้างทรัพย์สินมากขึ้น แม้จะยังน้อยนิด แต่เราก็ภูมิใจที่ได้ลงมือทำ เพื่อเป้าหมายเดิมคือ อิสรภาพทางการเงิน & อิสรภาพทางการใช้ชีวิต


>> ติดตามบทความอื่นๆ คลิ๊กที่นี่!! <<