เมื่อ 2-3 วันที่แล้ว ผมได้ยินผู้บังคับบัญชาพูดคุยให้ฟังเรื่อง
การจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในมหาวิทยาลัย ซึ่งก็คือ ม.ราชภัฏชัยภูมิ ที่ผมทำงานในปัจจุบัน นั่นเอง
สาระสำคัญคือ ทางผู้บริหารเริ่มเกริ่นเรื่องนี้ขึ้นมา คล้ายๆว่า เป็นการเช็คเสียงส่วนใหญ่ (คล้ายๆการลงประชามติที่คุ้นเคย อิอิ) ผมก็ไม่แน่ใจว่าจะจริงเท็จประการใด
แต่สำหรับบุคลากรตัวน้อยๆอย่างเราหรือสำหรับลูกจ้างหน่วยงานอื่นๆ ที่ยังไม่ได้เข้าเป็นสมาชิกกองทุนฯ ก็คงต้องเตรียมพร้อมไว้ก่อนว่า ไอ้เจ้า
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) หน้าตามันเป็นยังไง??...
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือ กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น โดยเงินของกองทุนมาจากเงินที่ลูกจ้างจ่ายส่วนหนึ่งเรียกว่า "เงินสะสม“ และนายจ้างจ่ายเงินเข้าอีกส่วนหนึ่งเรียกว่า "เงินสมทบ” กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นลักษณะของสวัสดิการที่นายจ้างมีให้กับลูกจ้างเพื่อเป็นหลักประกันทางการเงินให้แก่ลูกจ้างที่เป็นพนักงานบริษัทเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจต่างๆ โดยอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐผ่านกฎหมายที่เรียกว่า “พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” ความสำคัญของ การจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นอกจากจะทำให้ลูกจ้างมีการออมอย่างต่อเนื่อง มีวินัย และมีนายจ้างช่วยออมแล้วยังมีการนำเงินไปบริหารให้เกิดดอกผลงอกเงยโดยผู้บริหารมืออาชีพ และดอกผลที่เกิดขึ้นจะนำมาเฉลี่ยให้กับสมาชิกกองทุนทุกคนตามสัดส่วนของเงินที่แต่ละคนมีอยู่ในกองทุน
|
ที่มา www.mfcfund.com |
สวัสดิการชั้นยอด 3 ข้อหลักๆ ดังนี้
1. เราสะสมเท่าไหร่ นายจ้างสมทบเท่านั้น หรือ มากกว่า เช่น เดือนที่ 1 ; 1,000+1,000 = 2,000 บาท เรากำไรแน่ๆ 100%
2. ผลประโยชน์ทางภาษี
2.1) จากเงินสะสม เช่น ปี 2560 เราสะสมได้ 20,000 บาท สามารถนำไปยื่นลดหย่อนภาษีได้
2.2) กำไรจากผลการดำเนินงาน ไม่ต้องเสียภาษี
2.3) เมื่อเกษียณอายุ ลาออกจากกองทุนฯ สมมุติได้เงิน 2ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษี
3.เป็นการบังคับให้เราออม/ลงทุน อย่างต่อเนื่อง สมมุติให้เราออมเองทุกๆเดือน ฟังเหมือนง่าย แต่มีซกกี่คนที่ทำได้ แค่เงินจะแ...ก แต่ละเดือนยังไม่พอเล้ยยยย จริงมั้ยครับ??
นโยบายการลงทุน
จะขึ้นอยู่กับ คณะกรรมการกองทุนฯ แต่งตั้งมาจาก ฝ่ายนายจ้าง+ฝ่ายลูกจ้าง ซึ่งจะเป็นผู้คัดเลือกบริษัทจัดการกองทุนฯ และ เป็นผู้กำหนดนโยบายการลงทุน ซึ่งแบ่งได้ 2 ข้อหลักๆ ดังนี้
1. ทุกคนลงทุนนโยบายเดียวกัน (ผมขอเรียกมันว่า นโยบายหัวโบราณ) => คือ ลูกจ้างไม่มีสิทธิ์เลือกสัดส่วนการลงทุนใดๆ ซึ่งส่วนมากนโยบายพวกนี้ อัตราผลตอบแทนจะต่ำ ความเสี่ยงต่ำ แพ้เงินเฟ้อ
2. Employee's Choice => ลูกจ้างมีทางเลือกเป็นของตัวเอง
2.1) Menu Plan เหมาะสำหรับคนที่มีความรู้ไม่มากนัก
2.2) Free Hand ยืดหยุ่นได้มาก เลือกได้อิสระ เหมาะสำหรับคนที่มีความรู้ ความเข้าใจด้านการลงทุนเป็นอย่างดี
ผลตอบแทนการลงทุน
จะขึ้นอยู่กับแผนการลงทุนที่เราเลือก โดยผมจะยกตัวอย่างง่ายๆ ซึ่งเป็นเพียงการคาดการณ์ในเบื้องต้นเท่าน้ั้น โดยการกรอกตัวเลขลงใน excel ให้ดูผลตอบแทนในลักษณะต่างๆ 3 ลักษณะ ดังนี้
แบบที่ 1 รับความเสี่ยงได้ต่ำ (ลงทุนในตราสารหนี้ 100%) เงื่อนไขคือ เริ่มลงทุน อายุ 25 ปี เงินเดือนเริ่มต้น 20,000 บาท เงินเดือนขึ้น 5%ต่อปี เงินสะสม 5% เงินสมทบ 5% คาดหวังผลตอบแทน 3% ต่อปี เมื่อเกษียณ จะมีเงินทั้งสิ้นประมาณ 1,880,000 บาท
|
ที่มา www.a-academy.net |
แบบที่ 2 รับความเสี่ยงได้ปานกลาง (ตราสารหนี้ 50% หุ้น 50%) เงื่อนไขคือ เริ่มลงทุน อายุ 25 ปี เงินเดือนเริ่มต้น 20,000 บาท เงินเดือนขึ้น 5%ต่อปี เงินสะสม 5% เงินสมทบ 5% คาดหวังผลตอบแทน 6% ต่อปี เมื่อเกษียณ จะมีเงินทั้งสิ้นประมาณ 3,000,000 บาท
|
ที่มา www.a-academy.net |
แบบที่ 3 รับความเสี่ยงได้สูง (หุ้น 90%-100%) เงื่อนไขคือ เริ่มลงทุน อายุ 25 ปี เงินเดือนเริ่มต้น 20,000 บาท เงินเดือนขึ้น 5%ต่อปี เงินสะสม 5% เงินสมทบ 5% คาดหวังผลตอบแทน 10% ต่อปี เมื่อเกษียณ จะมีเงินทั้งสิ้นประมาณ 6,500,000 บาท
|
ที่มา www.a-academy.net |